โค้ชสัมพันธ์ ศรีกรุงโบรคเกอร์ (โค้ชประกันภัยรถยนต์ ) (ผมจะเป็น ผู้ฝึกสอนงาน ประกันภัยรถยนต์ ฟรี ให้กับท่าน) ตอบทุกคำถาม ที่ท่าน ต้องการรู้ และช่วยให้ท่าน ลดรายจ่าย^เพื่อรายได้ สำนักงานตัวแทนนายหน้าประกันวินาศภัย นายสัมพันธ์ กิตติวรวิศาล (รหัสตัวแทน AM00062781 ผู้แจ้งงาน)ใบอนุญาตเลขที่ 5804004537 (หมดอายุ 01/03/23)

ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

>ข้อควรรู้เมื่อประสบภัยจากรถ

ข้อควรรู้เมื่อประสบภัยจากรถ

ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ และ เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ
เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้
กรณีมีผู้บาดเจ็บ
1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
4. เตรียมเอกสาร
ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย
ให้เตรียมเอกสารดังนี้
1.สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
2.สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจประทับตราโล่และสำเนาถูกต้องเอกสาร
3.สำเนาคู่มือรถหน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
4.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
5.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
6.สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
7.สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
อย่างละ 2 ชุด

มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน? 
เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ  จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่? 
ตามระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อน
 
การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้อต้นจากรถที่เกิดเหตุ(หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)
ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนโดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
           
1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน                 30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน   80,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร    300,000 บาท
3. สูญเสียอวัยวะ 
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป               200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน        250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน        300,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน   4,000 บาท

* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป

ที่มา https://med.mahidol.ac.th/health_service/th/km/25may2016-0832

>ถาม - ตอบ การทำประกันภัย พ.ร.บ

ถาม - ตอบ การทำประกันภัย พ.ร.บ

การทำประกันภัย พ.ร.บ
     
   
อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ตามที่กฎหมายกำหนดราคาเท่าไร

   

1. ส่วนบุคคล    
    ไม่เกิน 75 ซี.ซี.     161.57 บาท
    เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.    323.14 บาท
    เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.    430.14 บาท
    เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป    645.21 บาท
    รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า    323.14 บาท
     
2. รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ    
    ไม่เกิน 75 ซี.ซี.    161.57 บาท
    เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.    376.64 บาท
    เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.    430.14 บาท
    เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป    645.21 บาท
     
   
สามารถทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน
   
ทำประกันภัย พ.ร.บ. ได้ที่ บริษัทกลางฯทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ตัวแทนประกันภัย หรือที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ก็มี พ.ร.บ.จำหน่าย
     
     ทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
   
เอกสารที่ต้องเตรียมคือ
    1. สำเนาทะเบียนรถ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
     
     กรณีเจ้าของรถจักรยานยนต์ไม่สามารถไปทำ พ.ร.บ.ด้วยตัวเอง ฝากให้คนอื่นทำแทนได้หรือไม่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
   
การจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. สามารถทำได้ง่ายนิดเดียว
โดย ผู้ขอซื้อเป็นเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับกรณีของ  ผู้เอาประกันภัยต้องมีการแสดงตนว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัย
เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องในหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.
เอกสารที่ต้องเตรียมคือ
    1. สำเนาทะเบียนรถ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
     
   
จะนำส่วนไหนของ พ.ร.บ.ไปใช้ในการต่อภาษี
   
สามารถฉีกส่วนท้าย หรือส่วนหาง พ.ร.บ. เพื่อนำไปต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบกได้
     
   
รถเก่า รถไม่เสียภาษี ไม่มีแผ่นป้าย ทำประกันภัย พ.ร.บ.ได้หรือไม่
   
กรณีไม่เสียภาษีประจำปี ท่านต้องเสียค่าปรับในการขาดต่อภาษี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายทางทะเบียน แต่หากท่านขาดต่อภาษีประจำปีเกิน 3 ปี
จะมีผลทำให้ทะเบียนของท่านถูกนายทะเบียนระงับการใช้รถทันที ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถใหม่ (ตรวจสอบได้ที่กรมการขนส่งทางบก)
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมคือ
    1.สำเนาทะเบียนรถ
    2. บัตรประชาชน หากไม่มีสำเนาทะเบียนรถสามารถนำรถไปให้เจ้าหน้าที่ขูดเลขตัวถังรถเพื่อยืนยันว่าเป็นรถคันที่เอาประกันภัยเพียงเท่านี้ก็สามารถ
ทำพ.ร.บ.ได้

หมายเหตุ : ในกรณีหากท่านมีความประสงค์จะจัดทำ พ.ร.บ. ท่านสามารถจัดทำได้ โดยไม่มีค่าปรับ
     
   
เจ้าของรถที่ไม่ทำประกันภัยพ.ร.บ.มีโทษหรือไม่ อย่างไร
   
การทำประกันภัย พ.ร.บ. คือ การประกันภัยภาคบังคับ  หน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันต้องจัดทำ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
     
   
ถ้าทำประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ไปแล้ว มาพบว่ามีข้อมูลผิดพลาด ควรต้องทำอย่างไร
   
ท่านสามารถติดต่อขอแก้ไข หรือยกเลิกกรมธรรม์ได้ที่สาขาของบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ
เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
    1. แบบฟอร์มใบคำขอแก้ไข / คำขอยกเลิกกรมธรรม์
    2. ต้นฉบับกรมธรรม์ที่ขอยกเลิก
    3. สำเนาบัตรประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หากลูกค้าไม่สามารถมาขอยกเลิกได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาทำการยกเลิกแทนได้ โดยต้องมีเอกสารที่แนบเพิ่มเติมดังนี้  
    1. หนังสือมอบอำนาจ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
   
   
หากเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจเอกสารในการทำประกัน พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
เราจะใช้อะไรเป็นหลักฐานว่าได้ทำประกัน พ.ร.บ. แล้ว
   
เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกดูเอกสารประกันภัย พ.ร.บ. เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแสดงเครื่องหมาย (หน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.)แก่เจ้าหน้าที่
กรณีหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.ชำรุด/สูญหาย สามารถขอรับได้ที่บริษัทกลางฯทุกสาขาโดยมีหลักฐาน ดังนี้
    1. ใบแจ้งความกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.สูญหาย
    2. หน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.เดิมกรณีชำรุด
    3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกัน รับรองสำเนาถูกต้อง หรือหลักฐานอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
หรือหนังสือเดินทาง แล้วแต่กรณี หากผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคล ให้นำภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคล
เพื่อแสดงชื่อบุคคลที่สามารถกระทำการแทนนิติบุคคล
    4. กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นขอรับหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.แทน ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
จากผู้เอาประกันภัย ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
     
     เอกสารกรมธรรม์รถจักรยานยนต์ ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หาย สามารถขอใหม่ได้หรือไม่
   
กรณีกรมธรรม์รถจักรยานยนต์สูญหายสามารถขอใหม่ได้ ที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทุกสาขาทั่วประเทศ
โดยให้เตรียมเอกสารดังนี้
    1.สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ใบแจ้งความ)
    2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เอาประกันภัย
    3.กรณีมอบอำนาจ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

> การเบิกประกัน พ.ร.บ.

การเบิกประกัน พ.ร.บ.

เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถและรถคันที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ มีประกันภัย พ.ร.บ.
ทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะได้รับการคุ้มครอง เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ. มีดังนี้
    
   
กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล
    
1.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2.    ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
 
หมายเหตุ : บริษัทอาจให้ผู้ประสบภัยแสดงหลักฐานแสดงการเกิดอุบัติเหตุจากรถ หรือประจำวันตำรวจแล้วแต่กรณีเนื่องจาก เงื่อนไขการประกันภัยนี้จะคุ้มครองผู้ประสบภัยที่เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถคันที่มีประกันภัยไว้กับบริษัทเท่านั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หรือหากมีการกระทำให้มีผู้ประสบภัยจากรถแล้วเป็นความผิดทางอาญาต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ชักช้า
     
   
กรณีเบิกค่าชดเชย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
    
1.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2.    ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล
 
หมายเหตุ : (ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดไม่สามารถเบิกค่าชดเชยได้)
     
     กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ
    
1.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2.    ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึง
การสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
3.    สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
 
     
     กรณีเสียชีวิต
      
1.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
2.    ใบมรณบัตร
3.    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
4.    สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ
 
หมายเหตุ : การจ่ายค่าเสียหาย ของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับตัวผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น หากผู้เสียหายนั้น
ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง บุคคลใดที่ท่านไว้วางใจให้มากระทำการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
และผู้รับมอบอำนาจ และการจ่ายค่าเสียหายนั้นทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นเช็คชื่อผู้ประสบภัยที่แท้จริง เว้นแต่กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น
   
    
คำเตือน ผู้ใดยื่นขอรับค่าเสียหายโดยทุจริต หรือยื่นหลักฐานอันเป็นเท็จ มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

> ความคุ้มครอง ตามพรบ.

ความคุ้มครอง ตามพรบ.
     
     พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย).
     
   
จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (จ่ายโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และ
รถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใน 7 วัน ดังนี้

   
กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล                       สูงสุดไม่เกิน    30,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะ                    จ่าย     35,000 บาท/คน
(หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท)
หมายเหตุ : การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่องมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงิน ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ
     
   
จ่ายค่าสินไหมทดแทน (จ่าย เมื่อพิสูจน์ความรับผิดแล้ว) รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
   
กรณีบาดเจ็บ  จ่ายค่ารักษาพยาบาล     สูงสุดไม่เกิน    80,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร    จ่าย  300,000 บาท/คน
กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด)    จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน
กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)    จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)
     
     เมื่อประสบอุบัติเหตุและมีประกันภัย พ.ร.บ. กรณีเป็นผู้โดยสาร เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วัน จะได้รับค่าชดเชยเท่าไร?
   
เงินชดเชยรายวัน เป็นค่าสินไหมทดแทนที่นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายต่อชีวิต ที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยของรถคันที่เป็นฝ่ายผิด
ซึ่งจะต้องรับผิดชอบ โดยจะทำการจ่ายให้ผู้เสียหายโดยตรง สำหรับผู้ที่เป็นผู้โดยสารและหรือบุคคลภายนอกที่ถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต
หรือร่างกาย ในอัตราวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน โดยจะพิจารณาจากหลักฐานการแสดงถึงจำนวนวันที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (เป็นผู้ป่วยใน) 
เป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากผู้ประสบภัยนั้นเป็นผู้ขับขี่ และเป็นฝ่ายผิดจะไม่ได้รับเงินชดเชยรายวันดังกล่าวนี้แต่อย่างใด

จากประเด็นคำถาม ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร หากรถประกันที่ผู้ประสบภัยโดยสารมาด้วยนั้นเป็นฝ่ายผิด และมีการนอนรักษาตัว ในโรงพยาบาล 7 วัน
บริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าชดเชยรายวันให้ จำนวน 1,400 บาท (200 บาท * 7 วัน)

จุดเด่นของธุรกิจ MGM ของ ศรีกรุงโบรคเกอร์

สมัครสมาชิกเพียง 200 บาท ได้สิทธิซื้อประกันภัยราคาพิเศษ ตลอดชีพ
มีบริการที่หลากหลาย มากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ
แนะนำเพื่อนมาเป็นสมาชิก เพื่อนได้ส่วนลด คุณยังได้ค่าแนะนำ
มีรายได้หลายทาง ทั้งขายเอง แนะนำบอกต่อ และบริหารทีม
ลูกค้าต้องซื้อซ้ำทุกปี กฎหมายบังคับ ไม่ต้องสต๊อกสินค้า
เป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก กำลังซื้อมากกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี
เริ่มธุรกิจง่าย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และ..ไม่มีเพดานรายได้
ไม่บังคับยอดรายเดือน หรือรายปี แต่..ก็มีรายได้หลักแสนต่อเดือนได้
สามารถโอนผลงาน รายได้ให้ทายาทได้ โดยไม่ต้องนับหนึ่งใหม่

สิ่งที่คุณจะได้รับ เมื่อสมัครเป็นสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ ทีมงานโค้ชสัมพันธ์ศรีกรุงโบรคเกอร์









เคลมสีรอบคัน ทำแล้วดีจริงเหรอ ?