ปัจจุบันอุบัติเหตุบนถนนในประเทศไทย มีสถิติผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน โดยจากสถิติข้อมูลพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่พบอันดับต้น ๆ มาจากสาเหตุเรื่อง "เมาแล้วขับ"
เมื่อเป็นเช่นนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเราจึงได้เห็นมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมามากมายเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้มีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดน้อยลง โดยหนึ่งในมาตรการที่ออกมาเพื่อลดอุบัติเหตุจากการ "เมาแล้วขับ" นั่นก็คือ การแก้ไขปรับปรุงกฏหมายในส่วนของ พ.ร.บ. จราจรทางบก
โดยกำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ หากมีปริมาณแอลกอฮอลล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา
1. ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
2. ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
3. ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สําหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
4. ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ส่วนบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังคงให้เป็นไปตามกฏหมายเดิม กล่าวคือ หากมีปริมาณแอลกอฮอลล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
ดังนั้นเราจะเห็นว่า การแก้ไขกฏหมายดังกล่าวออกมา เพื่อจำกัดระดับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกดประสาทจึงส่งผลให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง โดยหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบระดับแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ผู้ขับขี่ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายซึ่งมีโทษตั้งแต่ปรับ จนถึงขั้นจำคุก ยิ่งไปกว่านั้น หากตรวจพบระดับแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดในขณะเกิดอุบัติเหตุด้วยแล้ว ผู้ขับขี่อาจต้องโทษหนักขึ้นไปอีก ดังนี้
เมาแล้วขับ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต จนถึงการยึดรถที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน
- เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจ มีโทษจำคุก 1-5 ปี ถูกปรับ 20,000-100,000 บาท นอกจากนี้ยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
- เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับขั้นต่ำ 40,000-120,000 บาท นอกจากนี้ยังถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
- เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่กรรม มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับขั้นต่ำ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที
ดังนั้น เมื่อรู้กันอย่างนี้แล้ว หากเมา ... ต้องไม่ขับนะครับ เพราะหากฝ่าฝืนอาจนำอันตรายมาสู่ตัวเอง และผู้อื่นได้อย่างไม่คาดคิดทีเดียวล่ะครับ แล้วจะหาว่าพี่สิงโตไม่เตือนไม่ได้นะครับ
และสุดท้ายนี้ อย่าลืมดู ประกันรถด้วยนะครับ ว่าหมดการรับประกันหรือยัง หากหมดแล้ว
ต่อที่นี้เลยครับ และ ปริ้นเองได้เลย คลิป ที่นี่
อย่าลืม คลิกติดตาม ใน
ตอนที่ 2 เร็วๆนี้
- เมาแล้วขับ ประกันจ่ายหรือไม่..?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น