หลัง 24 ปี จุดเริ่มต้นแห่งการเดินทางของทอย สตอรี่ (1995)
****9 ปีที่คิดถึง กับการกลับมาของ Toy Story 4 (2019)
เหมือนมีมนต์สะกดในทุกๆ ฉาก (ขอบคุณที่เขาเลือกทางนี้)
>✅รักทอย สตอรี่ 3000 นี่เป็นเหมือนกับภาพยนตร์
ที่จะสั่นสะเทือนวงการ เช่นเดียวกับ #Avengers: Endgame
>✅Toy Story เป็นการ์ตูน ระดับมันสมองครับ เด็กๆก็ดูสนุกด้วย
>✅มีแง่คิดเสมอ ไม่งั้น ภาค 3 คงไม่ฟัน
รายรับรวมทั่วโลกกว่า 1,012.1 ล้านเหรียญฯนี้ ทำให้ "ทอย สอตรี่ 3"
กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล
-
1.จุดเริ่มต้นแห่งการเดินทางของทอย สตอรี่ (1995)
-
2.เรื่องราวของเหล่าของเล่นยังคงดำเนิน
ต่อไปใน ทอย สตอรี่ 2 (1999)
-
3.งานเลี้ยงจะต้องมีวันเลิกรา เพราะเมื่อแอนดี้
มีอายุได้ 17 ปี เขาต้องเตรียมตัวไปศึกษาต่อ
ระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นในทอย สตอรี่ 3 (2010)
-
4.สิ่งที่ดีใน Toy Story 4 (และขอบคุณที่เขาเลือกทางนี้)
คือการผลักประเด็นความเป็นมนุษย์ของชีวิตของเล่นให้ไปไกลมากขึ้น ลุ่มลึกขึ้น และเจ็บปวดมากขึ้น เหล่าของเล่นในภาคนี้ตั้งคำถามกับเส้นทางชีวิตที่ตัวเองสามารถออกแบบได้ การพยายามหาคุณค่าของการมีอยู่ และเป้าหมายสูงสุดที่ไม่มีเรื่องเจ้าของเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวละครอย่าง วู้ดดี้ บัซ หรือ โบ ในภาคนี้มีความเป็นคนมากๆ พวกเขามีความหลากหลายในด้านความคิดและทัศนคติมากขึ้น ขัดแย้งในเรื่องที่ดูซีเรียสจริงจังมากขึ้น ในขณะที่ภาคก่อนๆอาจจะพูดถึงความเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นแก๊งของเล่นมากกว่า (เราชอบที่เขาเอาเรื่องเสียงในหัว ความคิดที่เกิดขึ้นในใจมาเล่น มันตลก น่ารัก แต่ก็มนุษย์มากๆ)
.
ความรู้สึก "กลัวการถูกลืม" ของของเล่นแทบไม่ต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไป เราอาจจะมองได้ว่าความสัมพันธ์ของของเล่นกับเจ้าของเป็นพล็อตแฟนตาซี หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์อย่างเราๆไม่รู้ว่าพวกเขามีชีวิตจริงๆหรือไม่ (ตามการมีอยู่ของพวกมันที่จะเกิดขึ้นเมื่อไร้การมองเห็นของมนุษย์) แต่สุดท้ายทั้งชีวิตมนุษย์และชีวิตของเล่นก็เป็นเรื่องของ ความรัก ความภักดี ที่มีต่อใครสักคนที่เรามอบความสำคัญให้แก่เขา มันเป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่ซับซ้อนอะไรเพียงแต่ถูกเล่าในมุมหนึ่ง จนเกิดเป็นความรู้สึกที่ "อินมากกว่าปกติ" ก็เท่านั้น อาจจะเพราะของเล่นมันไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเท่าเทียมกับมนุษย์ เป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมอบความสุขให้แก่มนุษย์โดยที่พวกเขาเองไม่เคยรับรู้การมีชีวิตของพวกมันเลย (แม้จะรู้สึกได้ในจินตนาการ แต่จินตนาการก็ไม่ใช่ความจริงอยู่ดี) ซึ่งเพราะแบบนี้นี่เองที่เกิด "ความใจร้าย" ต่อเรื่องโดยไม่ได้ตั้งใจ การเอาใจใส่ของเล่นบางชิ้นที่น้อยลงส่งก็ผลต่อความรู้สึกของมันโดยที่เราไม่รู้ตัวได้เช่นกัน และแน่นอนว่าการถูกลืมอย่างถาวรคือฝันร้ายสำหรับเหล่าของเล่นอย่างแท้จริง เพราะมันคือเป้าเดียวที่ถูกสร้างขึ้นมา - มอบความสุขให้ใครสักคน หาใช่ถูกทิ้งร้างอย่างไร้ความหมาย
.
เราอินกับ Toy Story 4 เพราะลึกๆมันคือประสบการณ์แบบเดียวกับที่เราต้องเจอนั่นแหละ มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกลืมได้ และมนุษย์ก็ไม่สามารถจดจำทุกๆสิ่งได้เช่นกัน สุดท้ายมันเป็นเรื่องของการเข้าใจและปล่อยวาง มองหาความสุขในแบบของตัวเองโดยไม่ยึดติดกับสิ่งใดมากเกินไป หนทางชีวิตยังมีอีกมากมายกว่าที่เราเคยรู้ เช่นเดียวกับเหล่าของเล่นที่ชีวิตไม่ได้จบลงด้วยการ "หลงทาง" แต่เริ่มต้นด้วยการ "ผจญภัย" ต่างหาก
มันอาจจะไม่ใช่ภาคที่ดีที่สุดแต่ Toy Story ก็คือ Toy Story มันยังคงเป็นแอนิเมชั่นที่มากไปด้วยความบันเทิง และเต็มไปด้วยเนื้อหาที่สร้างสรรค์และถูกดีไซน์มาฉลาด Pixar พิสูจน์แล้วว่าเลข 4 ไม่ใช่หายนะ หากพวกเขาตั้งใจทำมันออกมา รักในสิ่งที่จะเล่า และเล่ามันด้วยหัวใจทั้งหมดที่มี เพราะไม่ว่าคุณจะชอบภาคนี้มากหรือน้อย บทสรุปของชีวิตเหล่าของเล่นใน Toy Story 4 ก็จะตราตรึงและทำคุณอินสุดขีดแน่นอนอยู่ดี
>✅ถ้ามีภาค 5 นี้จะเอาไงเนี่ย อันนี้น่าจะจบจริงๆ
- #Toy Story 4 (2019)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น